Category Archives: ถนนพระรามที่ 2
ถนนพระรามที่ 2
ถนนพระรามที่ 2 is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
ถนนพระรามที่ 2 เป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งในเขตบางขุนเทียน
เขตบางขุนเทียน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย การค้า และอุตสาหกรรม ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรมและมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เนื่องจากเป็นเขตเดียวของกรุงเทพมหานครที่มีพื้นที่ติดกับอ่าวไทย (เป็นระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร) และยังมีป่าชายเลนหลงเหลืออยู่
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางใต้สุดของกรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางบอนและเขตจอมทอง มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย คลองวัดสิงห์ คลองสนามชัย คลองวัดกก คลองบัว (คลองตาเปล่ง) และคลองตาสุกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตทุ่งครุและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (จังหวัดสมุทรปราการ) มีคลองบางมด คลองรางแม่น้ำ คลองรางด้วน (คลองสวน) คลองรางกะนก คลองนา คลองหัวกระบือ และคลองขุนราชพินิจใจ (คลองกง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลพันท้ายนรสิงห์และตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองบางเสาธง แนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร คลองสอง คลองแยกพะเนียง คลองตาแม้น คลองแสมดำใต้ และคลองแสมดำเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
ที่มาของชื่อเขต[แก้]
มีคำบอกเล่าว่า ย่านบางขุนเทียน (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่เขตจอมทอง) เคยเป็นแหล่งชุมนุมกองเกวียนที่ไปมาค้าขายจากสุพรรณบุรี โดยทุกกองเกวียนจะมีผู้นำทำหน้าที่คุ้มกันประจำกองเรียกว่า “ขุน” บริเวณที่หยุดรวมกองเกวียนนี้ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “บางขุนเกวียน” แล้วเพี้ยนเป็น “บางขุนเกียน” ต่อมาเขียนสะกดเป็น “บางขุนเทียน” ถึงทุกวันนี้ ยังมีความเห็นอีกว่า ชื่อบางขุนเทียนมาจากนามและตำแหน่งบุคคลว่า “ขุนเทียร” เป็นขุนนางรักษาสวนหลวงที่คงมีส่วนเข้ามาดูแลสวนบริเวณพื้นที่คลองบางขุนเทียนนั่นเอง
ประวัติศาสตร์[แก้]
อำเภอบางขุนเทียน เดิมเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญที่อพยพมาจากจังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4[2] เป็นอำเภอที่เก่าแก่ สันนิษฐานว่าก่อตั้งในปี พ.ศ. 2410 เดิมขึ้นอยู่กับจังหวัดธนบุรี ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอ (บริเวณริมคลองด่าน คลองดาวคะนอง และคลองบางขุนเทียน) มีความเจริญและมีชุมชนเพิ่มขึ้น ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาลนครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยให้ตำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย และจัดตั้งสุขาภิบาลบางขุนเทียนขึ้นในพื้นที่บางส่วนของตำบลบางขุนเทียนและตำบลบางมดในปี พ.ศ. 2508
ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร แบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวงแทนอำเภอและตำบล อำเภอบางขุนเทียนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร มีเขตการปกครอง 7 แขวง ได้แก่ แขวงบางขุนเทียน แขวงบางค้อ แขวงจอมทอง แขวงบางมด แขวงท่าข้าม แขวงบางบอน และแขวงแสมดำ
ต่อมาในพื้นที่เขตมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง กรุงเทพมหานครจึงตั้งสำนักงานเขตบางขุนเทียน สาขา 1 ดูแลพื้นที่ 4 แขวง ซึ่งได้แยกออกไปเป็นเขตจอมทองในปี พ.ศ. 2532 และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย แยกแขวงบางบอนออกไปตั้งเป็นเขตบางบอน
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตบางขุนเทียนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 2 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
ท่าข้าม | Tha Kham |
84.712
|
58,962
|
29,091
|
696.02
|
แสมดำ | Samae Dam |
35.975
|
124,916
|
59,364
|
3,472.30
|
ทั้งหมด |
120.687
|
183,878
|
88,455
|
1,523.59
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางขุนเทียน[3] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ได้แก่
- ถนนกาญจนาภิเษก เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่คลองบางมด ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่แขวงบางมด เขตทุ่งครุต่อไป
- ถนนพระรามที่ 2 เริ่มต้นเข้าสู่ท้องที่เขตบางขุนเทียนจากคลองวัดกก แขวงท่าข้าม ต่อเนื่องมาจากแขวงบางมด เขตจอมทอง และไปสิ้นสุดที่เส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาคร ก่อนจะตัดผ่านเข้าสู่ท้องที่ตำบลบางน้ำจืด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาครต่อไป
- ถนนบางขุนเทียน ตัดผ่านพื้นที่ทางเหนือของเขต เข้าสู่ท้องที่เขตจากทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย แขวงแสมดำ ต่อเนื่องมาจากแขวงบางบอน เขตบางบอน และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 2
- ถนนบางขุนเทียนชายทะเล ตัดผ่านพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของเขต เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 2 แขวงแสมดำ และไปสิ้นสุดที่ถนนเลียบคลองพิทยาลงกรณ์ซึ่งตัดออกสู่ท้องที่ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
ส่วนถนนสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|