Category Archives: คลองพระยาราชมนตรี
คลองพระยาราชมนตรี
คลองพระยาราชมนตรี is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.
คลองพระยาราชมนตรี เป็นคลองๆหนึ่งในเขตบางบอน
เขตบางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตหนองแขม เขตบางแค และเขตภาษีเจริญ มีคลองหนามแดงและคลองบางโคลัดเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตจอมทอง มีคลองวัดสิงห์เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน มีทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัยเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสาครและอำเภอกระทุ่มแบน (จังหวัดสมุทรสาคร) มีแนวแบ่งเขตการปกครองระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดสมุทรสาครเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติ[แก้]
บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1[2] โคลงนิราศนรินทร์ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2[3] และนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4[4][5] ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น[6]
ในปี พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี[7] และในปี พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร[8] ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541[9] เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน[10] ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน[10]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบแขวงบางบอนและตั้งแขวงขึ้นใหม่ 4 แขวง โดยมีถนนเอกชัยและถนนกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขต[11] โดยมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน ส่งผลให้เขตบางบอนในปัจจุบันประกอบด้วยแขวงดังต่อไปนี้
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
บางบอนเหนือ | Bang Bon Nuea |
22,472
|
9,941
|
||
บางบอนใต้ | Bang Bon Tai |
25,231
|
9,248
|
||
คลองบางพราน | Khlong Bang Phran |
33,492
|
17,326
|
||
คลองบางบอน | Khlong Bang Bon |
25,724
|
13,724
|
||
ทั้งหมด |
34.745
|
106,919
|
50,239
|
3,077.24
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตบางบอน[12] |
---|
การคมนาคม[แก้]
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตบางบอน ได้แก่
ส่วนทางสายรองและทางลัด ได้แก่
|
|
สถานที่สำคัญ[แก้]
- กองกำกับการตำรวจม้า
- เรือนจำพิเศษธนบุรี
- ทัณฑสถานหญิงธนบุรี
- สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่ 7
- วัดบางบอน
- โรงเรียนศึกษานารีวิทยา
- โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคมรัชมังคลาภิเษก
ทางน้ำ[แก้]
|
|
เศรษฐกิจ[แก้]
เกษตรกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญในเขตนี้ พืชที่ปลูกได้แก่ มะม่วงน้ำดอกไม้มัน มะพร้าว กล้วยไม้ และดอกบัว เป็นต้น[13]