Category Archives: แขวงมหาพฤตฒาราม

แขวงมหาพฤตฒาราม

แขวงมหาพฤตฒาราม is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by address the focus keyphrase name in category.

แขวงมหาพฤตฒาราม

เขตบางรัก Khet Bang Rak is one of 50 districts of กรุงเทพมหานคร Bangkok, Thailand.

เขตบางรัก เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

สัญลักษณ์[แก้]

  • ตราประจำเขตบางรัก เป็น รูปกังหันลมสีเหลืองบนพื้หลังสีม่วง รูปกังหันลม 5 แฉก สื่อถึง โรงสีซึ่งในอดีตมีมากบนถนนสีลมซึ่งเป็นที่มาของชื่อถนนสีลม แฉกทั้ง 5 สื่อถึงแขวง 5 แขวงในเขตบางรัก
  • ดอกไม้ประจำเขตบางรัก คือ ดอกรัก ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานของที่มาของชื่อเขตบางรัก
  • สีประจำเขตบางรัก คือ สีม่วง

ที่มาของชื่อเขต[แก้]

มีการสันนิษฐานที่มาไว้หลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อแรกที่ว่าบริเวณเขตบางรักนี้เคยมีคลองเล็ก ๆ ที่ไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา และมีผู้พบซุงไม้รักขนาดใหญ่ในคลองนั้น จึงเรียกชื่อบริเวณนี้ตามชื่อไม้ว่า “บางรัก” หรืออีกกระแสหนึ่งที่เชื่อว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณนี้มีต้นรักขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากจนเป็นที่มาของชื่อ

บ้างก็ว่าชื่อบางรักนั้นมาจากโรงหมอหรือโรงพยาบาลในสมัยนั้นซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่สำคัญของอำเภอ จึงได้ชื่อว่าเป็น “อำเภอบางรักษ์” และเรียกเพี้ยนมาเป็น “บางรัก” อย่างในปัจจุบัน ส่วนที่มาสุดท้ายเชื่อกันว่า เดิมเขตบางรักในอดีตเรียกกันว่าคลองบางขวางล่างใต้ เป็นย่านที่มีคนมากมายหลากหลายอาชีพทั้งกะลาสีลูกเรือฝรั่งต่างชาติอยู่รวมกัน เป็นแหล่งกินแหล่งเที่ยวที่มีการทะเลาะวิวาทถึงขั้นฆ่ากันตายบ่อยครั้ง ชาวบ้านในแถบนั้นจึงขอให้ใช้ชื่อที่เป็นมงคลเรียกย่านนี้ว่า “บางรัก” แทนชื่อเดิม

บางรักในวันนี้ก็ถือเป็นชื่อที่เป็นมงคลเกี่ยวกับเรื่องความรัก จนทำให้ในวันวาเลนไทน์ของทุกปี มักจะมีคนไปจดทะเบียนกันที่เขตบางรักมากเป็นพิเศษเพราะเชื่อกันว่าจะมีความรักสดชื่นสดใสเหมือนชื่อเขต โดยที่มีตำนานหลายอย่างเกียวกับชื่อบางรักเช่นเคยมีต้นรักเยอะหรือมีโรงพยาบาลแปลงมาจากคำว่า’รักษา’เป็นต้น

ประวัติศาสตร์[แก้]

มุมมองเขตบางรักตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

อำเภอบางรัก ก่อตั้งขึ้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ในวันที่ 5 มิถุนายน ร.ศ. 127 หรือ พ.ศ. 2450 โดยรวมพื้นที่อำเภอชั้นในของพระนคร 4 อำเภอตามประกาศกระทรวงนครบาล และเป็น 1 ใน 8 อำเภอของกรุงเทพฯ

ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอบางรักจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

เขตบางรักแบ่งหน่วยการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง ได้แก่

อักษรไทย อักษรโรมัน พื้นที่
(ตร.กม.)
จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2561)
จำนวนบ้าน
(ธันวาคม 2561)
ความหนาแน่น
(ธันวาคม 2561)
แขวงมหาพฤฒาราม Maha Phruettharam
0.889
11,243
6,442
12,646.79
แขวงสีลม Si Lom
2.074
18,231
12,229
8,790.26
แขวงสุริยวงศ์ Suriyawong
0.820
5,258
4,915
6,412.19
แขวงบางรัก Bang Rak
0.689
2,806
1,446
4,072.56
แขวงสี่พระยา Si Phraya
1.064
10,669
7,013
10,027.25
ทั้งหมด
5.540
48,207
32,045
8,701.62

ประชากร[แก้]

สถานที่สำคัญ[แก้]

ถนนเจริญกรุงช่วงบางรัก ด้านหลังคืออาคารสเตท ทาวเวอร์

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน บางรัก

ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรม[แก้]

สถานทูต[แก้]

สถาบันทางการศึกษา[แก้]

สถานพยาบาล[แก้]

ศาสนสถาน[แก้]

วัด[แก้]

โบสถ์ และคริสตจักร[แก้]

  • อาสนวิหารอัสสัมชัญ และ มิสซังโรมันคาทอลิกแห่งกรุงเทพมหานคร
  • โบสถ์เซนต์โยเซฟ
  • คริสตจักรสัจจศึกษา
  • คริสตจักรสะพานเหลือง
  • คริสจักรสืบสัมพันธ์
  • คริสตจักรเย็นเฮย์เม็มโมเรียล
  • คริสตจักรที่ 2

มัสยิด[แก้]

ศาสนสถานอื่น ๆ[แก้]

  • วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก)
  • ศาลเจ้าปุ้นเถ้ากง ถนนมหานคร
  • ศาลเจ้าชิดเซียม้า เจริญกรุง 39
  • ศาลเจ้าอ้วงเอี้ย ซอยสะพานเตี้ย
  • ศาลเจ้าเจียวเอ็งเนี้ยว เจริญกรุง 44

การคมนาคม[แก้]

ถนนสาทรขณะปราศจากการจราจรติดขัดในปัจจุบัน

ทางสายหลักในพื้นที่เขตบางรัก ได้แก่

ส่วนทางสายรอง ได้แก่

  • ถนนสี่พระยา
  • ถนนสุรวงศ์
  • ถนนนเรศ
  • ถนนทรัพย์
  • ถนนมหาเศรษฐ์
  • ถนนมเหสักข์

ระบบขนส่งมวลชน[แก้]

เหตุการณ์สำคัญ[แก้]

22 เมษายน พ.ศ. 2553 ได้เกิดเหตุระเบิด 5 ครั้งบริเวณถนนสีลม โดยครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ระหว่างที่กลุ่มผู้ชุมนุม นปช. รวมตัวการชุมนุมอยู่แยกศาลาแดงฝั่งถนนสีลม ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของตำรวจ โดยเสียงระเบิดดังขึ้น 3 ครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง เสียงระเบิดทำให้ประชาชนที่อยู่บนสถานีและกลุ่มต่อต้าน นปช. เกิดความโกลาหล ระเบิดลูกที่ 4 ได้ระเบิดขึ้นบริเวณหน้าโรงแรมดุสิตธานี ใต้ทางเดินลอยฟ้าเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (สกายวอล์ก) ต่อมา เวลา 20.45 น. ระเบิดลูกที่ 5 ก็ระเบิดขึ้นที่หน้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาศาลาแดง

7 พฤษภาคม เวลา 22.45 น. บริเวณแยกศาลาแดง เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนกราดยิงเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยืนเฝ้าที่หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาย่อย อาคารซูลิก เฮ้าส์ ถนนสีลม ทำให้กระจกหน้าธนาคารกรุงไทย ใกล้ตู้เอทีเอ็ม แตก 1 บาน มีรอยร้าว มีรูกระสุน 1 รู มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[ต้องการอ้างอิง] ทั้งหมดถูกนำส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้าม

Call Now Button