Category Archives: จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี   is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google page search by the focus keyword in category.

จังหวัดนนทบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 [5]

ปัจจุบัน จังหวัดนนทบุรีจัดเป็นพื้นที่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีขนาดเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 75 ของประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร

ประวัติศาสตร์[แก้]

ศาลากลางจังหวัดนนทบุรีหลังเก่า

สภาพทั่วไปของจังหวัดนนทบุรีเป็นที่ราบลุ่มมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีผู้คนมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนหนาแน่นตามริมแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่อดีต เช่น บ้านวัดชลอ บ้านวัดเขมา บ้านบางม่วง บ้านตลาดขวัญ บ้านบางขนุน เป็นต้น

สมัยอยุธยา[แก้]

หลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรีปรากฏที่วัดปรางค์หลวง[6] ตั้งอยู่ในตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ เป็นวัดที่มีพระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้ยี่สิบขนาดใหญ่ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นหลักแก่ชุมชนชาวเมืองอู่ทองที่อพยพหนีโรคระบาดมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณนี้ก่อนจะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี[7] ชุมชนแห่งนี้ได้ขยายตัวและกระจัดกระจายออกไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ในบริเวณนี้ โดยมีชุมชนสำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านตลาดขวัญ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ท้องที่จังหวัดนนทบุรีทั้งหมดในสมัยนี้ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา[8]

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา จากเหนือวัดชลอไปทะลุใกล้วัดมูลเหล็ก (ปัจจุบันคือวัดสุวรรณคีรี เขตบางกอกน้อย) เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางและเพื่อเพิ่มปริมาณแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรในพื้นที่[9]

ในปีเดียวกันนั้น พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ กษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ผลจากสงครามทำให้สมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง เมื่อพม่ายกทัพกลับไป และกรุงศรีอยุธยาได้จัดการพระศพสมเด็จพระสุริโยทัยเรียบร้อยแล้ว สมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงทรงปรับปรุงกิจการทหารให้มั่นคงกว่าเดิม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นอีกหลายเมือง รวมทั้งให้ยกฐานะหมู่บ้านตลาดขวัญขึ้นเป็น เมืองนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2092[10] เนื่องจากมีราษฎรจำนวนมากหนีภัยสงครามครั้งนั้นไปอยู่ตามป่าเขาและไม่ยอมกลับพระนคร หากตั้งเมืองใหม่ขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเกณฑ์ไพร่พลเมื่อเกิดสงคราม นอกจากนี้ยังสามารถเป็นเมืองท่าและเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยาได้อีกด้วย ที่ตั้งของเมืองนนทบุรีในครั้งแรกนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดเทพอุรุมภังค์ (วัดหัวเมือง) เป็นเขตเหนือ (ปัจจุบันคือโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า) และมีวัดท้ายเมืองเป็นเขตใต้[11]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดตัดส่วนโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ใต้วัดท้ายเมืองไปทะลุออกหน้าวัดเขมา[10] (เดิมแม่น้ำเจ้าพระยาไหลวกเข้าไปทางบางกรวยและบางใหญ่) ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองที่ขุดใหม่ กลายเป็นแนวแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าในปัจจุบัน ส่วนแม่น้ำเดิมก็ตื้นเขินลงเป็นคลองอ้อม คลองบางกอกน้อย และคลองบางกรวยตามที่ปรากฏในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชดำริว่า แนวแม่น้ำเจ้าพระยาที่สั้นลงจะทำให้ข้าศึกเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาได้ง่ายขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรีจากบ้านตลาดขวัญไปตั้งบริเวณปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง[10] (ที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณนี้จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และให้สร้างกำแพงเมืองรวมทั้งป้อมปราการขึ้น 2 ป้อม คือ “ป้อมแก้ว” ตั้งอยู่ที่บ้านตลาดแก้ว (สันนิษฐานว่าอยู่ที่วัดปากน้ำในปัจจุบัน) และ “ป้อมทับทิม” ตั้งอยู่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน[12] (ปัจจุบันกำแพงและป้อมถูกรื้อไปหมดแล้ว) ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจของเมืองนนทบุรีมีความมั่นคงมาก ทั้งการค้าขายและการทำสวนผลไม้[12]

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2264 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองลัดเกร็ดขึ้นตัดความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ไหลวกอ้อมไปทางบางบัวทอง[12] ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล ชายฝั่งทั้งสองข้างของคลองลัดเกร็ดถูกกัดเซาะให้ห่างออกจากกันมากขึ้น พื้นที่ตรงกลางที่มีน้ำล้อมรอบจึงกลายเป็นเกาะ เรียกว่า “เกาะเกร็ด

ปี พ.ศ. 2307 ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเล็กน้อย พระเจ้ามังระ กษัตริย์พม่า โปรดเกล้าฯ ให้มังมหานรธาเป็นแม่ทัพเข้าตีเข้ากรุงศรีอยุธยาจากทางทิศใต้ ตีหัวเมืองรายทางเรื่อยมาจนถึงเมืองธนบุรีและเมืองนนทบุรี ก็เข้ายึดเมืองทั้งสองได้เช่นกัน พม่าแบ่งกำลังบางส่วนขึ้นมาตั้งค่ายอยู่บริเวณวัดเขมา ขณะนั้นมีเรือกำปั่นอังกฤษซึ่งมาค้าขายอยู่ที่เมืองธนบุรีได้อาสาช่วยรบโดยยิงปืนเข้าใส่ค่ายพม่าในเวลากลางคืน[13] แต่ในที่สุดก็สู้กองทัพพม่าไม่ได้ จึงล่องเรือหนีไป

จากนั้นกองทัพพม่าจึงบุกขึ้นไปทางทิศเหนือ เข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2309 และเข้ายึดได้ในปี พ.ศ. 2310 ตลอดการสู้รบได้ส่งผลให้บ้านเมือง วัดวาอารามต่าง ๆ ถูกทำลายและทิ้งร้าง ชาวเมืองนนทบุรีต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่เดิม ข้ามแม่น้ำไปหลบซ่อนในสวนบางกรวยและบางใหญ่เพื่อหนีภัยสงคราม[14]

สมัยรัตนโกสินทร์[แก้]

เมื่อบ้านเมืองได้รับการฟื้นฟูกลับสู่สภาพปกติในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเมืองจึงค่อย ๆ ย้ายกลับสู่ถิ่นฐานเดิม พร้อมทั้งมีผู้คนจากถิ่นอื่นเข้ามาในพื้นที่ด้วย ได้แก่ ชาวมอญที่อพยพเข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานที่ปากเกร็ด[14] และอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองนนทบุรี เมืองปทุมธานี และเมืองนครเขื่อนขันธ์[15] นอกจากนี้ยังมีชาวไทยมุสลิมเมืองปัตตานีที่ถูกกวาดต้อนเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[15] และชาวไทยมุสลิมเมืองไทรบุรีที่เข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสองพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ชาวไทยมุสลิมเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอิฐ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด) และบ้านบางบัวทอง[15]

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสร้อยชื่อเมืองจากเดิมคือ เมืองนนทบุรีศรีมหาสมุทร เป็น เมืองนนทบุรีศรีมหาอุทยาน[16] และต่อมาเปลี่ยนเป็น เมืองนนทบุรีศรีเกษตราราม[17] ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้ เมืองนนทบุรีมีฐานะเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดกรมท่า[18]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงปฏิรูปการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เป็นการปกครองส่วนภูมิภาค เมืองนนทบุรี จึงจัดอยู่ในมณฑลกรุงเทพ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอตลาดขวัญ อำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง และอำเภอปากเกร็ด[18] ส่วนศาลากลางเมืองนนทบุรีนั้นโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากปากคลองอ้อม บ้านบางศรีเมือง มาตั้งอยู่ที่ปากคลองบางซื่อใกล้วัดท้ายเมือง[18] จนกระทั่งปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็น “จังหวัด”[19] เมืองนนทบุรีจึงเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น จังหวัดนนทบุรี

นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีมาตั้งที่โรงเรียนราชวิทยาลัย[20] ศาลากลางจังหวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการเมืองและศาลากลางจังหวัดนนทบุรีในอดีตลงมาทางทิศใต้ ปัจจุบันก็คือศาลากลางจังหวัดหลังเก่าบริเวณท่าน้ำนนทบุรีนั่นเอง

สมัยปัจจุบัน[แก้]

ในปี พ.ศ. 2474 ทางราชการได้ตัดถนนประชาราษฎร์[21] ขึ้นเป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดนนทบุรีกับจังหวัดพระนครสายแรก[22] และต่อมาจึงตัดถนนพิบูลสงครามเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นเป็นสายที่สอง[22] ในท้องที่ตำบลสวนใหญ่

เมื่อปี พ.ศ. 2486 เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการจึงยุบจังหวัดนนทบุรีลงเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ โดยโอนอำเภอเมืองนนทบุรีและอำเภอปากเกร็ดไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร และโอนอำเภอบางกรวย อำเภอบางใหญ่ และอำเภอบางบัวทองไปขึ้นกับจังหวัดธนบุรี[22] จนกระทั่งนนทบุรีได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอีกครั้งในปี พ.ศ. 2489[23] อำเภอต่าง ๆ จึงกลับมาอยู่ในเขตการปกครองของทางจังหวัดตามเดิม

ปี พ.ศ. 2499 กระทรวงมหาดไทยได้ยกกิ่งอำเภอไทรน้อยซึ่งแยกพื้นที่ปกครองจากอำเภอบางบัวทองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ให้มีฐานะเป็นอำเภอไทรน้อย[24] จังหวัดนนทบุรีจึงมีเขตการปกครองรวม 6 อำเภอจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยย้ายศาลากลางจังหวัดนนทบุรีและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ไปตั้งอยู่ที่ศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ และใช้เป็นที่ทำการมาจนถึงทุกวันนี้

ทำเนียบผู้ว่าราชการ[แก้]

รายนามผู้ว่าราชการเมืองนนทบุรีและผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี[25]

ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ลำดับ ชื่อผู้ว่าราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
1
มหาอำมาตย์ตรี นายพันตรีพระยาไกรโกษา (ทัด สิงหเสนี)
ไม่ทราบข้อมูล 2
หม่อมเจ้าขจรศุภสวัสดิ์
ไม่ทราบข้อมูล
3
พระยาอินทราธิบดี (ทองย้อย เศวตศิลา)
ไม่ทราบข้อมูล 4
พระยานนทบุรีศรีเกษตราราม (เล็ก บูรณฤกษ์)
พ.ศ. 2465–2469
5
พระยาศิริชัยบุรินทร์ (เปี่ยม หงสเดช)
พ.ศ. 2469–2476 6
พระยาบริหารเทพธานี (เฉลิม กาญจนาคม)
พ.ศ. 2476–2478
7
หลวงภูวนารถนราภิบาล (สนิท มหามุสิต)
พ.ศ. 2478–2480 8 พ.ศ. 2480–2482
9
หลวงอรรถเกษมภาษา (สวิง ถาวรพันธ์)
พ.ศ. 2482–2483 10
หลวงโยธีพิทักษ์ (โปร่ง สาทิศกุล)
พ.ศ. 2483–2484
11
นายสุทิน วิวัฒนะ
พ.ศ. 2484–2485 12
หลวงนรกิจบริหาร (แดง กนิษฐสุต)
พ.ศ. 2485–2489
13
นายลิขิต สัตยายุทธ์
พ.ศ. 2489–2491 14
ขุนบุรีภิรมย์กิจ (พริ้ม จารุมาศ)
พ.ศ. 2491–2499
15
นายประกอบ ทรัพย์มณี
พ.ศ. 2499–2503 16
นายสอาด ปายะนันทน์
พ.ศ. 2503–2510
17
นายแสวง ศรีมาเสริม
พ.ศ. 2510–2514 18
นายวิจิตร แจ่มใส
พ.ศ. 2514–2519
19
นายสุชาติ พัววิไล
พ.ศ. 2519–2521 20
นายศรีพงศ์ สระวาลี
พ.ศ. 2521–2524
21
นายฉลอง วงษา
พ.ศ. 2524–2526 22
ดร.สุกิจ จุลละนันท์
พ.ศ. 2526–2530
23 พ.ศ. 2530–2534 24
นายทวีป ทวีพาณิชย์
พ.ศ. 2534–2536
25
นายชัยจิตร รัฐขจร
พ.ศ. 2536–2537 26
นายสุจริต ปัจฉิมนันท์
พ.ศ. 2537–2539
27 พ.ศ. 2539–2542 28
นายขวัญชัย วศวงศ์
พ.ศ. 2542–2544
29
นายสาโรช คัชมาตย์
พ.ศ. 2544–2545 30
นายชาญชัย สุนทรมัฎฐ์
พ.ศ. 2545–2547
31 พ.ศ. 2547–2549 32
นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์
พ.ศ. 2549–2552
33
นายวิเชียร พุฒิวิญญู
พ.ศ. 2552–2556 34
นายธนน เวชกรกานนท์
พ.ศ. 2556–2557
35
นายชนม์ชื่น บุญญานุสาสน์
พ.ศ. 2557–2558 36
นายนิสิต จันทร์สมวงศ์
พ.ศ. 2558–2560
37
นายภานุ แย้มศรี
พ.ศ. 2560–2562 38
นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์
พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขตติดต่อ[แก้]

จังหวัดนนทบุรีตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนทางเหนือ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 622.303 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 388,939.375 ไร่ โดยมีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ละติจูดที่ 13 องศา 47 ลิปดาเหนือ ถึงละติจูดที่ 14 องศา 04 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 องศา 15 ลิปดาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 100 องศา 34 ลิปดาตะวันออก[26] และมีอาณาเขตจรดอำเภอและจังหวัดข้างเคียงเรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านเกาะเกร็ด

จังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน จึงแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของจังหวัด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึง มีคูคลองขนาดต่าง ๆ เชื่อมโยงกันหลายสายเหมือนใยแมงมุม มีการทำเรือกสวนไร่นา และฝั่งตะวันออกมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของจังหวัด ได้แก่พื้นที่ในเขตเทศบาลนครนนทบุรีและเทศบาลนครปากเกร็ด เป็นเขตเมืองมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น อาจถือได้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเมืองหลวง เพราะเขตแดนระหว่างนนทบุรีกับกรุงเทพมหานครนั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนนทบุรีเป็นแบบร้อนชื้นเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลางของประเทศ

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

จังหวัดนนทบุรีแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาค (ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่) ออกเป็น 6 อำเภอ 52 ตำบล 424 หมู่บ้าน แต่หากไม่นับรวมหน่วยการปกครองในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครซึ่งยุบเลิกตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านแล้ว จะมีทั้งหมด 34 ตำบล 328 หมู่บ้าน[27] โดยอำเภอทั้ง 6 อำเภอของจังหวัดนนทบุรี มีรายชื่อและข้อมูลทั่วไปดังนี้

ข้อมูลอำเภอในจังหวัดนนทบุรี (31 ธันวาคม พ.ศ. 2561)
ลำดับ
[# 1]
ชื่ออำเภอ ชั้น
[28]
พื้นที่
(ตร.กม.)
ห่างจากตัวจังหวัด
(ก.ม.)[29]
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)
ตำบล
[# 2][30]
หมู่บ้าน
[# 3][30]
ประชากร
(คน)[4]
แผนที่
1 พิเศษ
77.018 [31]
ไม่ปรากฏข้อมูล 10 26
 365,710
แผนที่
2 2
57.408 [32]
16.86
2447 [33] 9 41
 136,668
3 2
96.398 [34]
8.11
2464 [35] 6 69
 152,086
4 1
116.439 [36]
15.96
2445 [37] 8 73
 277,162
5 2
186.017 [38]
29.01
2499 [39] 7 68
 67,285
6 1
89.023 [40]
7.45
2427 [41] 12 51
 247,384
  1.  เรียงตามรหัสเขตการปกครองของกรมการปกครอง
  2.  รวมตำบลในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนครด้วย
  3.  เฉพาะหมู่บ้านนอกเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร (ทั้งเต็มหมู่และบางส่วน) เท่านั้น สำหรับจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด ให้ดูในบทความของแต่ละอำเภอ

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

พื้นที่จังหวัดนนทบุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 46 แห่ง แบ่งตามประเภทและอำนาจบริหารจัดการภายในท้องที่ได้เป็น องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 19 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 26 แห่ง[42]

เขตเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี

ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี
ลำดับ ชื่อเทศบาล พื้นที่
(ตร.กม.)
ตั้งเมื่อ
(พ.ศ.)[# 1]
อำเภอ ครอบคลุมตำบล ประชากร
สิ้นปี 2561
(คน)[4]
ทั้งตำบล บางส่วน รวม
เทศบาลนคร
1   เทศบาลนครนนทบุรี 38.90 [43] 2538 [44]   เมืองนนทบุรี 5 5 254,950
2   เทศบาลนครปากเกร็ด 36.04 [45] 2543 [46]   ปากเกร็ด 5 5 189,935
เทศบาลเมือง
1   เทศบาลเมืองบางบัวทอง 13.50 [47] 2480 [48]   บางบัวทอง 1 4 5 51,136
2   เทศบาลเมืองบางกรวย 8.40 [49] 2545 [50]   บางกรวย 2 2 43,453
3   เทศบาลเมืองบางศรีเมือง 6.36 [51] 2549 [52]   เมืองนนทบุรี 1 1 2 32,651
4   เทศบาลเมืองพิมลราช 15.08 [53] 2557 [54]   บางบัวทอง 1 1 45,674
5   เทศบาลเมืองบางคูรัด 19.70 [55] 2562 [56]   บางบัวทอง 1 1 39,590
6   เทศบาลเมืองบางรักพัฒนา 11.48 [57] 2562 [58]   บางบัวทอง 1 1 46,645
เทศบาลตำบล
1   เทศบาลตำบลปลายบาง 15.68 [49] 2542 [59]   บางกรวย 2 1 3 44,401
2   เทศบาลตำบลบางม่วง 1.67 [60] 2542 [59]   บางใหญ่ 3 3 5,812
3   เทศบาลตำบลบางใหญ่ 7.23 [61] 2542 [59]   บางใหญ่ 3 3 11,331
4   เทศบาลตำบลไทรน้อย 2.30 2542 [59]   ไทรน้อย 2 2 2,557
5   เทศบาลตำบลไทรม้า 8.14 [49] 2546 [62]   เมืองนนทบุรี 1 1 22,690
6   เทศบาลตำบลศาลากลาง 14.78 [63] 2551 [64]   บางกรวย 1 1 17,095
7   เทศบาลตำบลเสาธงหิน 9.55 [65] 2554 [66]   บางใหญ่ 1 1 38,475
8   เทศบาลตำบลบางเลน 7.60 [67] 2554 [68]   บางใหญ่ 1 1 15,513
9   เทศบาลตำบลบ้านบางม่วง 11.21 [65] 2554 [69]   บางใหญ่ 1 1 16,962
10   เทศบาลตำบลบางสีทอง 5.80 [70] 2556 [71]   บางกรวย 1 1 10,952
11   เทศบาลตำบลบางพลับ 8.31 [72] 2556 [73]   ปากเกร็ด 1 1 10,026

ตำบลพิมลราช หลังคา พียู โฟม

 ตำบลละหาร แผ่นใส สีใสกระจก

ตำบลลำโพ หลังคา แซนวิช พียูโฟม

 ตำบลโสนลอย แผ่นโปร่งแสงกันสาด 

ตำบล บางเลน หลังคา พียู ลายไม้

ตำบลบางม่วง แผ่นใส สีขาวขุ่น 

ตำบลบางแม่นาง แพนเนล พียู ทำฝ้า-เพดาน ทำฝาผนัง-พาร์ติชั่น

ตำบลบางใหญ่ หลังคา พียู โฟม

 ตำบลบ้านใหม่ แผ่นใส สีใสกระจก

ตำบลเสาธงหิน หลังคา แซนวิช พียูโฟม

Call Now Button